โลกหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวเร่ง สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อทุกภาคธุรกิจและองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายมาเป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหารยุคใหม่ ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจยังอยู่รอดและเติบโตได้ในสภาวะวิกฤติ ทั้งในแง่มุมของการสร้างองค์กรสู่อนาคต และการทำให้เกิดความต่อเนื่องของธุรกิจ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นแรงขับเคลื่อนองค์กร จะต้องพบเจอความท้าทายอะไรบ้าง ควรใช้กลยุทธ์อะไร ควรใช้แพลตฟอร์มไหน ข้อดีข้อเสียคืออะไร และทำไม HR กับ IT ถึงมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้
มาร่วมฟังบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับตัวแทนผู้บริหารจากบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล และคุณสกุลรัตน์ ธีระชาติแพทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ กับหลายประเด็นน่าสนใจที่ THSUG เลือกมาให้ทุกท่านร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
ความท้าทายการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนองค์กร
คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล กล่าวถึง การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาขับเคลื่อนองค์กรต้องพบเจอกับความท้าทายต่างๆ ในเรื่องของ 1.Right Structure, Right Organization Design (โครงสร้างองค์กรต้องใช่ ดีไซน์องค์กรต้องใช่) การออกแบบและเตรียมองค์กรให้พร้อมคือสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ในยุคโควิด-19 หากต้องการให้ธุรกิจดำเนินต่อไปข้างหน้า เรื่อง Business Strategy (แผนกลยุทธ์) คือภาพใหญ่ที่เราจะต้องมองเห็น และตีโจทย์ให้ได้ว่าเราต้องการเติบโตไปในทิศทางไหน ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการควบจัดการคู่ไปกับการ Monitor Business อย่างใกล้ชิด และสื่อสารกับคนในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ และช่วยเตรียมความพร้อม การคัดสรรคนที่ใช่ มีทัศนคติและทักษะที่เหมาะสมกับเนื้องาน 2.Right Infrastructure, Right Solution (โครงสร้างพื้นฐานต้องใช่ และโซลูชั่นต้องใช่) เมื่อรู้แล้วว่า Business Model และ Employee Journey ในองค์กรเป็นอย่างไร สเตปต่อไปของ HR คือการออกแบบการวางระบบโครงสร้างการใช้งานไอทีแพลตฟอร์มขององค์กร ให้สอดรับกับเทคโนโลยีและรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และพร้อมรับมือกับสภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่ง ณ จุดนี้ HR จะต้องทำงานกับ IT อย่างใกล้ชิด และ3.Mindset Shift Strategy (กลยุทธ์การปรับกรอบความคิด) Mindset นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายขององค์กรที่ HR ต้องช่วยสนับสนุนให้เกิดขึ้นกับพนักงาน เริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิด ให้พนักงานเข้าใจและสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานจากรูปแบบเดิมๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ๆ โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงานที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ซึ่ง HR จะต้องบริหารจัดการอย่างสมดุลควบคู่กัน โดยพิจารณาทั้งเรื่องของความยั่งยืนสู่อนาคตขององค์กร และบุคลากรที่ต้องดูแล
ส่วนมุมมองทางด้านไอทีคุณสกุลรัตน์ ธีระชาติแพทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความเห็นว่า 1.Communication & Engagement (การสื่อสารและการมีส่วนร่วม) ความท้าทายสำคัญสำหรับ IT คือการสื่อสารกับพนักงานในช่องทางดิจิทัลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพผ่าน Microsoft Teams และให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตอบสนองและสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับกับ Business Continuity หรือ BCP (แผนบริหารความต่อเนื่อง) ในวันที่สถานการณ์โควิด-19 ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ และยังคงเป็นแผนบริหารความต่อเนื่องในระยะยาว 2. Mobile-First Strategy (กลยุทธ์การทำงานผ่านมือถือ) IT ต้องก้าวผ่านความท้าทาย ในการสร้างประสบการณ์การทำงานแบบไร้รอยต่อ (Seamless Experience) และสามารถทำให้พนักงานทำงานได้จากทุกที่ (Remote Working) และเกิดปัญหาน้อยที่สุด ด้วย mobile app, mobile platform และ application รวมไปถึงเปลี่ยน paper-based ให้เอกสารอยู่บนออนไลน์มากขึ้น และ 3 Life Safety (ความปลอดภัยของชีวิต) เมื่อพนักงานต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ความปลอดภัยคือเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ในวันที่โควิด-19 ยังอยู่ IT ต้องบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน ให้เขาสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัย ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การเปลี่ยนระบบการเข้าออกเป็นแบบ Face ID ซึ่งมีการปรับให้รองรับการใส่ Mask แทนการใช้ Card และระบบสัมผัส
Thailand SAP User Group #2 “Journey to Sustainability Development & Best Run Award Ceremony”
เมื่อเร็วๆ นี้ Thailand SAP User
DoHome Plc. Drives Business Innovation with Digital Transformation
DoHome Plc. Drives Business Innovation
How A New Role For HR Can Impact Revenue Growth For Midsize Companies
By Maryann Abbajay, Chief Revenue
Why Banks Should Focus On Digitizing Procurement To Manage Costs And Reduce Risk
By Falk Rieker, Global Vice